การพ่นหมอกหรือการสเปรย์น้ำในช่วงที่อากาศร้อน
อากาศร้อนในประเทศไทยจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
- ร้อนชื้นอย่างในภาคใต้หรือตอนหน้าฝน
- ร้อนแห้งอย่างภาคเหนือ ภาคอีสานหรือในหน้าร้อน
1. การสเปรย์น้ำในช่วงอากาศร้อนแห้ง
เมื่อเราสเปรย์น้ำๆส่วนหนึ่งจะระเหยกลายเป็นไอ เมื่อน้ำระเหยจะเกิดการดูดความร้อนและคายความเย็นทำให้อากาศเย็นขึ้น ยิ่งระเหยมากยิ่งเย็นมาก การระเหยได้มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความชื้นในอากาศถ้าอากาศแห้งมากจะระเหยได้มาก น้ำอีกส่วนหนึ่งก็ตกลงมาเกาะใบผักและโต๊ะปลูก ส่วนที่เกาะใบผักก็จะระเหยทำให้ใบผักเย็นถ้ามีลมพัดผ่านจะยิ่งเย็นมากขึ้น และไม่นานน้ำที่ส่วนต่างๆ ก็จะแห้งการสเปรย์น้ำในสภาพอากาศร้อนและแห้งจะเป็นการเหมาะสมมากที่สุด
2. การสเปรย์น้ำในช่วงที่อากาศร้อนและชื้น
เมื่อเราสเปรย์น้ำในช่วงอากาศร้อนและชื้นน้ำที่สเปรย์ลงมา น้ำจะระเหยได้น้อยมากหรือบางที่อาจจะไม่ระเหยเลย ทำให้แทบไม่มีการดูดความร้อนและคายความเย็นเลย แต่ที่เรารู้สึก
เย็นส่วนมากเกิดจากอุณหภูมิของน้ำที่ถูกสเปรย์ออกมามีอุณหภูมิต่ำกว่าอากาศ จึงทำให้เรารู้สึกเย็น น้ำที่ไม่ระเหยจำนวนมากจะตกลงมาที่โต๊ะปลูกและใบผัก น้ำส่วนที่อยู่ที่ใบผักก็จะระเหยได้ช้าและน้อยและถ้าไม่มีลมช่วยก็จะทำให้ไม่เกิดการดูดความร้อนและคายความเย็น เมื่อมีแดดส่องลงมาก็จะทำให้น้ำที่เกาะที่ใบผักเกิดความร้อนสะสมจนใบผักสุก ยิ่งถ้าไม่มีแสลนพรางแสงและระยะการสเปรย์น้ำที่ห่างกันมากๆ ยิ่งเป็นตัวเพิ่มปัญหา (การสเปรย์น้ำในช่วงอากาศร้อนชื้น ถ้าไม่มีแสลนควรมีระยะเวลาสเปรย์ห่างไม่เกิน 4 นาที แต่ถ้ามีแสลนก็สามารถสเปรย์ห่างได้)
**ที่ฟาร์มของผมถ้าอากาศร้อนแห้ง ผมจะลดความร้อนโดยการสเปรย์น้ำ แต่ถ้าร้อนชื้นผมใช้พัดลมเป่า เพราะพัดลมจะช่วยให้ความชื้นในอากาศระเหยแล้วได้ความเย็นมาแทน แต่ระบบควรจะอยู่ในโรงเรือนกางมุ้งและมีแสลน ปัจจุบันการปลูกผักโดยไม่มีแสลนคงจะปลูกได้แค่หน้าหนาวหน้าเดียว และผักที่ได้จะกินอร่อยสู้มีแสลนไม่ได้แต่ทรงพุ่มอาจจะสวยกว่าผักที่ปลูกแบบมีแสลน แต่ระหว่างที่ปลูกจะมีปัญหามากกว่า***
ที่มา : อาจารย์อรรถพร สุบุญสันต์